วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เครื่องยนต์รถไฟ



รถจักรไอน้ำ
    รถจักรไอน้ำมีหลักการทำงานเหมือนกันหมด คือ ใช้เชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอ แล้วไปดันลูกสูบขับล้ออีกที แต่รถจักรแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันที่กำลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของบอยเลอร์ พื้นที่รับความร้อน ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ ลักษณะเด่นที่แตกต่างกันของรถจักรไอน้ำ คือรถแต่ละรุ่นล้อจะไม่เหมือนกัน ทางผู้ผลิตจะกำหนดแบบล้อ (Wheel Arrangement) ว่าเป็นแบบไหน ซึ่งจะใช้งานต่างกัน เช่น รถโดยสาร รถสินค้าขนาดหนัก รถสายสั้นทั่วไป และทางยุโรปกับอเมริกา ก็จะใช้ความนิยมแตกต่างกัน ด้วยภูมิประเทศ น้ำหนักลากจูง ระยะทางที่รถต้องวิ่งตอนนี้จะบอกถึงรายละเอียดของการออกแบบรถจักรไอน้ำที่มีใช้งานอยู่เช่น Cab Forward , BigBoy , Mallet

รถจักรไอน้ำ 2-8-2 Mikado ต้นแบบเป็นญี่ปุ่นนิยมลากรถสินค้า
2 คือ ล้อนำมีไว้ทรงตัวขณะเข้าโค้ง รักษาระยะต่างๆ แต่ไม่ใช้ล้อกำลัง
8 คือ ล้อที่มีข้อชักรับกำลังจากลูกสูบ เป็นล้อขับซ้าย-ขวาข้างละ 4 ล้อ
2 ต่อหลัง เป็นล้อตามไม่มีชุดขับเอาไว้รับน้ำหนักและทรงตัวในทางโค้ง ข้างละ 1 ล้อ

รถจักรไอน้ำ 4-6-2 Pacific ใช้ลากรถโดยสาร
4 เป็นล้อนำข้างละ 2 ล้อ ,
6 มาจากข้างละ 3 ล้อ ที่มีตัวขับรับกำลัง,
2 มาจากล้อตาม ข้างละ 1 ล้อ

หัวรถจักรแบบ 4-6-0
4 คือ ล้อเล็กข้างหน้า 4 ล้อ
6 คือ ล้อถัดมาเป็นล้อใหญ่ 6 ล้อ
0 หมายถึงล้อหลังไม่มีล้อเล็ก
 

รถจักรดีเซล article
S.L.M Winterthur
หัวรถจักรดีเซล เอส แอล เอ็ม วินเตอร์เชอร์ รุ่น 21 - 22 หัวรถจักรรุ่นนี้มีจำนวน 2 คัน
กำลัง 200 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 40 กม./ชม.
รถจักรดีเซลรุ่นแรกที่นำมาใช้ในเมืองไทย  และเป็นประเทศแรกในเอเชียอาคเนย์ที่ได้นำรถจักรดีเซลมาใช้
ประเทศผู้สร้าง  สวิสเซอร์แลนด์
นำมาใช้ในปี พ.ศ. 2471
หัวรถจักรประวัติศาสตร์คันนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าตึกบัญชาการรถไฟ




Davenport 580

หัวรถจักรดีเซล Davenport รุ่น 571 - 585 หัวรถจักรรุ่นนี้มีจำนวน 15 คัน
กำลัง 2 คูณ 500 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 92 กม./ชม.
ประเทศผู้สร้าง  สหรัฐอเมริกา
นำมาใช้ในปี พ.ศ. 2498
ปัจจุบันเลิกใช้งานและถูกตัดออกจากบัญชีแล้ว
ภาพนี้ถ่ายที่ โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ

 

HUNSLED
หัวรจักรดีเซล HUNSLED รุ่น 23 - 27 รถจักรรุ่นนี้มีจำนวน 5 คัน
สั่งซื้อจากประเทศอังกฤษ
เครื่องยนต์ 8 สูบ 240 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 19.5 กม./ชม.
ใช้งานเมื่อ ปี พ.ศ. 2508
ปัจจุบันบางคันยังใช้งานอยู่โดยใช้ในการสับเปลี่ยนเพื่อทำขบวนรถไฟ บริเวณสถานี
คันนี้เลิกใช้งานแล้ว ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์รถไฟ ชมรมเรารักรถไฟ หลังสวนจตุจักร เปิดให้เข้าชมในวันเสาร์ - อาทิตย์  ตั้งแต่เวลา 0700 - 1200 น.

หัวรถจักรดีเซล HENSCHEL รุ่น 3001 - 3027 รถจักรรุ่นนี้มีจำนวน 27 คัน
กำลัง 1200 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 90 กม./ชม.
ประเทศผู้สร้าง   เยอรมัน
เป็นหัวรถจักรดีเซลที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮโดรลิค  เรียกกันว่า "ดีเซลไฮโดรลิค"
นำมาใช้งานเมื่อ ปี พ.ศ. 2507
เลิกใช้งานแล้ว
ปัจจุบันเลิกใช้งานและตัดบัญชีไปแล้ว 
ภาพนี้ถ่ายที่ โรงรถจักรธนบุรี


KRUPP
หัวรถจักรดีเซล KRUPP รุ่น 3101 - 3130 รถจักรรุ่นนี้มีจำนวน 30 คัน
กำลัง 1500 แรงม้า  ความเร็วสูงสุด 90 กม./ชม.
ประเทศผู้สร้าง เยอรมัน
เป็นหัวรถจักรดีเซลที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮโดรลิครุ่นสุดท้ายที่ยังใช้งานอยู่  เรียกกันว่า "ดีเซลไฮโดรลิค"
นำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2512
ปัจจุบันใช้งานอยู่ในแขวงการทางแถบภาคใต้ครับ


GE(K) 4022
หัวรถจักรดีเซล GE รุ่น 4001 - 4050
เป็นหัวรถจักรดีเซลที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า  เรียกกันว่า "ดีเซลไฟฟ้า"
กำลัง 2 คูณ 660 แรงม้า
หัวรถจักร GE ที่หมายเลขรถขึ้นต้นด้วย 40- - เป็นหัวรถจักร GE รุ่นแรกที่การรถไฟสั่งเข้ามาใช้งาน มีอยู่ทั้งหมด 50 คัน ตั้งแต่หมายเลข 4001 - 4050
ประเทศผู้สร้าง  สหรัฐอเมริกา
นำมาใช้งาน ในปี 2507 - 2509 
ปัจจุบันยังใช้งานอยู่
  
หัวรถจักรดีเซลที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

GE(K) 4034
หัวรถจักรดีเซลที่ใช่อยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 4 ยี่ห้อ คือ
KRUPP
ALSTHOM
HITACHI
GE (GENERAL ELECTRIC)
GRUPP เป็นหัวรถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์ ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยเฟืองส่งกำลังไปยังเพลาและล้อเพื่อขับเคลื่อนหัวรถจักรอีกต่อหนึ่ง หัวรถจักยี่ห้อนี้ไม่กลัวน้ำ เมื่อเวลาน้ำท่วมรางรถไฟ การรถไฟจะใช้หัวรถจักรยี่ห้อนี้ไปแทนหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าซึ่งถูกน้ำไม่ได้เพราะใช้ระบบขับเคลื่นด้วยไฟฟ้า
ALSTHOM , HITACHI , GE  เป็นหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า  เครื่องยนต์ของหัวรถจักรยี่ห้อต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนหัวรถจักรโดยตรง แต่เครื่องยนต์จะทำหน้าที่ปั่นไดนาโมให้กำเนิดไฟฟ้าแล้วส่งไปยังมอเตอร์กำลังเพื่อไปฉุดเพลาล้อให้ขับเคลื่อนอีกทีหนึ่ง หัวรถจักรแต่ละหัวจะมีเพลาล้อ 6 เพลา จึงใช้มอเตอร์ทั้งหมด 6 ตัวครับ 

ดังนั้นถ้าเกิดกรณีน้ำท่วมรางรถไฟสักประมาณ 10 ซ.ม. หัวรถจักรเหล่าไม่สามารถแล่นได้เพราะน้ำจะเข้าไปในมอเตอร์ซึ่งอยู่ใต้ท้องของตัวรถจักรอาจทำให้ไฟฟ้าว๊อตเสียหายได้
ตัวอย่างภาพข้างบนนี้ คือ ภาพรถไฟ ขบวนที่ 374 ปราจีนบุรี - กรุงเทพ ใช้หัวรถจักรดีเซลยี่ห้อ GE(K) รุ่น 4034 หัวรถจักรยี่ห้อ GE(K) เลขรุ่นจะขึ้นต้นด้วย 40- - การรถไฟนำมาใช้งานอยู่ 50 คัน เริ่มตั้งแต่ 4001 ถึง 4050 ครับ ปัจจุบันหัวรถจักรรุ่นนี้ส่วนใหญ่จะนำไปช้กับรถสินค้า จะใช้กับรถโดยสารบ้างก็ไม่กี่คัน

ภาพรถไฟ ขบวนที่ 228 อุบลราชธานี - พหลโยธิน  ใช้หัวรถจักรยี่ห้อ ALSTHOM รุ่น 4225
หัวรถจักรดีเซล ALSTHOM ที่การรถไฟนำมาใช้มีอยู่ด้วยกันหลายคัน และมีหลายรุ่น คือ รุ่นที่ขึ้นต้นด้วย 41- - , 42- - , 43- - , 44- - ตามลำดับ

รุ่น ALSTHOM(ALS) หมายเลข 4101 - 4154 มีจำนวน 54 คัน  กำลัง 2400 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 95 กม./ชม. สร้างที่ประเทศฝรั่งเศษ  นำมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518

รุ่น ALSTHOM(AHK) หมายเลข 4201 - 4230 มีจำนวน 30 คัน  กำลัง 2400 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม. สร้างที่ประเทศฝรั่งเศษ  นำมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2523

รุ่น ALSTHOM(ALD) หมายเลข 4301 - 4309 มีจำนวน 9 คัน  กำลัง 2400 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม. สร้างที่ประเทศฝรั่งเศษ  นำมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2526

รุ่น ALSTHOM(ADD) หมายเลข 4401 - 4420 มีจำนวน 20 คัน  กำลัง 2400 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม. สร้างที่ประเทศฝรั่งเศษ  นำมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 252528

หมายเหตุ หัวรถจักรดีเซล ALSTHOM เป็นหัวรถจักรที่การรถไฟฯนำมาใช้มากที่สุดในปัจจุบัน มีถึง 113 คัน

ภาพรถสินค้า ใช้หัวรถจักรยี่ห้อ HITACHI รุ่น 4503
หัวรถจักรดีเซล HITACHI มีอยู่ด้วยกัน 22 คัน เลขรุ่นจะขึ้นต้นด้วย 45- - เริ่มตั้งแต่ 4501 ถึง 4522


GE(A) 4530
ภาพรถไฟ ขบวนที่ 136 อุบลราชธานี - กรุงเทพ  ใช้หัวรถจักร ยี่ห้อ GE(A) รุ่น 4530
หัวรถจักรดีเซลรุ่น GE(A) มีอยู่ด้วยกัน 38 คัน เริ่มตั้งแต่ 4523 ถึง 4560


รถจักรดีเซลไฟฟ้า เป็นรถจักรที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลัง โดยใช้กำลังจากเครื่องดีเซลไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประธาน แล้วนำกระแสไฟฟ้าที่ได้มาไปหมุนมอเตอร์ขับเคลื่อนรถจักรต่อไป ปัจจุบันการรถไฟไทยมีรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ 7 รุ่น
รถจักรดีเซลไฟฟ้า คือรถจักรที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีต้นกำลังจากเครื่องยนต์ดีเซล โดยที่เครื่องยนต์ดีเซลจะหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อทำขับเคลื่อนเพลาให้รถเคลื่อนที่ต่อไป ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำรถจักรดีเซลไฟฟ้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928)

รายชื่อรถจักรในปัจจุบัน[แก้]

รหัสรุ่นผู้ผลิตเลขที่ผลิตเมื่อจำนวนคัน(แรงม้า)ความเร็วสูงสุด (กม./ ชม.)ภาพคำอธิบาย / หมายเหตุ
UM12C (GE)จีอี4001-4050พ.ศ. 2507(4001-4040)
พ.ศ. 2509(4041-4050)
501320
(2 × 660)
103Kanchanaburi Station.jpg• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4045
• ตัดบัญชี 5 คัน
• ระบบห้ามล้อแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ลมดูด ลมอัด ลมดูด/ลมอัด
• นำเข้าทั้งหมด 2 ชุด โดยชุดแรก (4001-4040) นำเข้ามาก่อน ส่วนชุดที่ 2 (4041-4050) นำเข้ามาเพื่อทดแทนรถจักรพลีมัทที่ได้มอบมาก่อนหน้านี้
AD24C (ALS)เอแอลเอส4101-4154พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 251854225095ALS4121.jpg• ชุดแรกของรถจักร AD24C
• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4123
• ได้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ MTU หรือ Caterpillar เป็นบางคัน โดยคันแรกที่ติดตั้งคือหมายเลข 4140[1]
• ตัดบัญชี 8 คัน
AD24C (AHK)เอเอชเค4201-4230พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2524302250100AHK4226.JPG• ชุดที่ 2 ของรถจักร AD24C
•ผลิตร่วมกับบริษัท กรุปป์ และ เฮนเชล โดยทั้ง2บริษัทได้รับลิขสิทธิ์โครงประธานจากอัลสธอม
• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4205
• ได้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ MTU หรือ Caterpillar เป็นบางคัน โดยคันแรกที่ติดตั้งคือหมายเลข 4224
• ตัดบัญชี 2 คัน
AD24C (ALD)เอแอลดี4301-4309พ.ศ. 252692250100ALD4302.JPG• ชุดที่ 3 ของ AD24C
• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4305
• ได้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ Caterpillar เป็นบางคัน โดยคันแรกที่ติดตั้งคือหมายเลข 4306
• ตัดบัญชี 2 คัน
AD24C (ADD)เอดีดี4401-4420พ.ศ. 2528202250100ADD4401.jpg• ชุดสุดท้ายของ AD24C
• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4419
• ได้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ MTU หรือ Caterpillar เป็นบางคัน โดยคันแรกที่ติดตั้งคือหมายเลข 4404
• ตัดบัญชี 3 คัน
8FA-36C (HID)ฮิตะชิ4501-4522พ.ศ. 2536222860
(2 × 1430) =ก่อนลดสเตจเทอร์โบ 2500 (2*1250) =หลังลด
100HID4515.JPG• ใช้เครื่องยนต์ KTTA-50L ปัจจุบันได้ลดสเตจเทอร์โบลง ทำให้รหัสเครื่องยนต์เป็น KTA-50Lเหมือนจีอีเอ
• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4510
• ตัดบัญชี 1 คัน
CM22-7i (GEA)จีอีเอ4523-4560พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539382500
(2 × 1250)
100GEA4539.JPG• ใช้เครื่องยนต์ KTA-50L
• ได้รับการทาสีใหม่เมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยคันแรกที่ทาสีคือหมายเลข 4536
• ตัดบัญชี 2 คัน
CSR Qishuyan U20 (SDA3)ซีเอสอาร์ ชิซูเยี่ยน5101 - 5120พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558203,800110SRT 5101 (5103 B W).jpg• ส่งมอบครบแล้ว20คัน คือหมายเลข 5101-5120
500 HP (Davenport)ดาเวนพอร์ต511-540พ.ศ. 2495 (511-530)
พ.ศ. 2500 (531-540)
30500
(1 × 500)
82
• ส่วนใหญ่ตัดบัญชีและนำตัวรถไปประมูลขายเรียบร้อยแล้ว
• บางส่วนรอซ่อมที่มักกะสัน
• ที่ใช้งานได้ในขณะนี้ มีจำนวน 4 คัน ได้แก่ หมายเลข 527, 530, 535, 540 (โดยทั้ง 4 คันนี้อยู่ที่ สถานีรถไฟพิษณุโลกสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟนครราชสีมา และสถานีรถไฟนครลำปางตามลำดับ)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รถไฟฟ้า เครื่องยนต์ เครื่องกำเนิด มอเตอร์

ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าถูกจำแนกเป็นสามปัจจัยหลักดังนี้: แรงดันไฟฟ้า กระแส กระแสตรง (DC) กระแสสลับ (AC) ความถี่ ระบบหน้าสัมผัส รา...