โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย (อังกฤษ: Thailand High-speed Rail Project) เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทยในการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน มีเป้าหมายในการก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
เนื้อหา
[ซ่อน]ประวัติ[แก้]
สยามถือเป็นประเทศที่มีรถไฟใช้เป็นอันดับต้นๆของเอเชีย โดยได้มีการตั้งกรมรถไฟ ในปี พ.ศ. 2433 หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาระบบรถไฟไทยอย่างเรื่อยมา แต่การพัฒนาถือว่าเป็นไปอย่างช้ามาก และเริ่มที่จะล้าหลัง อีกทั้งอะไหล่หัวรถจักรนั้นหาซื้อได้ยาก จึงได้มีแนวคิด ที่จะพัฒนาระบบรถไฟในประเทศ เป็นระบบรถไฟความเร็วสูง โดยเริ่มมีการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535[3] ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2537 มีการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ - สนามบินหนองงูเห่า - ระยอง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537[3] ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ก็ได้สานต่อโครงการฯ มีการเปิดทางให้ต่างประเทศได้ศึกษาแนวเส้นทาง โดยสองประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน คือ ประเทศจีน และ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นสนใจที่จะลงทุนในเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ส่วนจีน มีความสนใจในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งขณะนั้น จีนก็ได้กำลังเจรจากับรัฐบาลลาว เพื่อสร้างทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งในอนาคตนั้นสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางกรุงเทพ-หนองคายได้เลย เนื่องจากจีนมีแผนวางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไปถึงสิงคโปร์ แต่ภายหลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลจีนและลาวมีปัญหา เนื่องจากรัฐบาลลาวเห็นว่า เงื่อนไงที่รัฐบาลจีนได้เสนอมานั้นเกินกว่าที่ลาวจะสามารถยอมรับได้ และเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ส่งผลให้โครงการรถไฟความเร็วสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยต้องสะดุดลง
ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน กรอบการเจรจาดังกล่าว มีสาระสำคัญในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทย-จีน 5 ด้าน คือ 1.เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 2.เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 3. เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 4.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ 5.เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี
ธันวาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยโดยการนำของพรรคเพื่อไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ กับรัฐบาลจีน หนึ่งในนั้นคือโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลจีนมีความประสงค์ที่จะร่วมทุนกับรัฐบาลไทยในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางนี้ ต่อมาในพ.ศ. 2555 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ 1 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 14-15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณส่วนหนึ่งให้สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย
พ.ศ. 2556 รัฐบาลไทยได้ยกร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ จำนวน 2 ล้านล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของพรบ. โดยมีแนวทางที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของระบบรางและให้สัมปทานการดำเนินงานแก่เอกชน วางแผนให้สามารถทำการประกวดราคาได้ภายในไตรมาส 1/2557 ซึ่งพ.ร.บ. ได้ผ่านรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการออกพ.ร.บ. นี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายในทันที อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มกปปส.ทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภาในเดือนเดียวกัน และทำให้โครงการทั้งหมดล่าช้าออกไปอย่างไม่มีกำหนด
มกราคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ไต่สวนคำร้องพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งระหว่างการไต่สวน นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการได้แสดงทรรศนะที่ก้าวก่ายรัฐบาลและต่อต้านโครงการนี้อย่างเปิดเผย อาทิ "ไม่คำนึงถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง", "รถไฟเร็วสูงยังไม่จำเป็นกับไทย" หรือ "ให้ถนนลูกรังหมดก่อน" ซึ่งทำให้ศาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในประเด็นที่ว่าศาลไต่สวนนอกเหนืออำนาจหน้าที่ เพราะควรไต่สวนเฉพาะประเด็นที่ขัดกฎหมาย ท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีตกพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวันที่ 12 มีนาคม 2557
พ.ศ. 2558 ทั้งนี้การศึกษาและการดำเนินการต่างๆที่ดำเนินอยู่ ให้ดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลทหารมุ่งเน้นสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับรัฐบาลจีน ทำให้รัฐบาลทหารได้หยิบยกโครงการนี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดยหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่ารถไฟความเร็วสูง และหันไปเรียกว่า "รถไฟทางคู่รางมาตรฐาน" แทน โดยมุ่งเน้นในการเชื่อมต่อกับจีนในสายอีสาน ก่อสร้างโดยใช้เงินกู้จากจีนเป็นหลัก อย่างไรก้ตาม โครงการต้องมาสะดุดอีกครั้ง เมื่อจีนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงเกินไปและจีนขอเดินรถเอง[4]ทำให้รัฐบาลต้องหันไปพิจารณาแหล่งทุนจากแหล่งอื่นๆ อาทิ ไจก้า ที่เสนออัตราดอกเบี้ยถูกกว่า และยังทาบทามนายธนินท์ เจียรวนนท์ โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาร่วมลงทุน[5]ร่วมลงทุนในสัดส่วนจีน 70 ไทย 30 แต่จีนคำนวณมากกว่าไทย 20,000 ล้านบาท หรือต้นทุนที่จีนศึกษาที่ 1.7 แสนล้านบาท
ญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในสายเหนือ โดยยืนยันที่จะไม่ใช้ทางร่วมกับโครงการของจีน ทำให้เกิดปัญหาเขตทางไม่พอในช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ทำให้ภาพรวมของโครงการล่าช้า แม้ว่ารัฐบาลไทยเจรจากับญี่ปุ่นหลายรอบ แต่ท้ายที่สุดการเจรจาก็ล้มเหลว ทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุบโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเข้ากับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน
สายเหนือ (กรุงเทพ - เชียงใหม่)[แก้]
- ระหว่าง: สถานีกลางบางซื่อ — สถานีรถไฟเชียงใหม่
- ระยะทาง: 669 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 400,000 ล้านบาท[6]
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
ช่วง กรุงเทพ - พิษณุโลก[แก้]
- ระยะทาง: 384 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 224,416 ล้านบาท
- เปิดใช้งาน: พ.ศ. 2565
ช่วง พิษณุโลก - เชียงใหม่[แก้]
- ระยะทาง: 285 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด
สถานี | เชื่อมต่อกับ | ที่ตั้ง | |||
---|---|---|---|---|---|
รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก | |||||
HN01 | บางซื่อ | รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) รถไฟความเร็วสูง ตะวันออก (ชลบุรี) รถไฟความเร็วสูง สายใต้ (หัวหิน) | เขตบางซื่อ | กรุงเทพมหานคร | |
HN02 | ดอนเมือง | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม | เขตดอนเมือง | ||
HN03 | อยุธยา* | อำเภอพระนครศรีอยุธยา | พระนครศรีอยุธยา | ||
HN04 | ลพบุรี* | อำเภอท่าวุ้ง | ลพบุรี | ||
HN05 | นครสวรรค์* | อำเภอเมืองนครสวรรค์ | นครสวรรค์ | ||
HN06 | พิจิตร* | อำเภอเมืองพิจิตร | พิจิตร | ||
HN07 | พิษณุโลก* | อำเภอเมืองพิษณุโลก | พิษณุโลก | ||
HN08 | สุโขทัย* | อำเภอเมืองสุโขทัย | สุโขทัย | ||
HN09 | ศรีสัชนาลัย* | อำเภอศรีสัชนาลัย | |||
HN10 | ลำปาง* | อำเภอเมืองลำปาง | ลำปาง | ||
HN11 | ลำพูน* | อำเภอเมืองลำพูน | ลำพูน | ||
HN12 | เชียงใหม่* | อำเภอเมืองเชียงใหม่ | เชียงใหม่ | ||
หมายเหตุ - *สถานีใหม่ |
สายตะวันออก (กรุงเทพ - ระยอง)[แก้]
- ระหว่าง: สถานีกลางบางซื่อ — สถานีรถไฟมักกะสัน — สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า
- ระยะทาง: ประมาณ 193.5 กิโลเมตร (ใช้โครงสร้างร่วมกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 27.5 กิโลเมตร ช่วง บางซื่อ-สุวรรณภูมิ)
- มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 152,000 ล้านบาท
- เปิดใช้งาน: ภายใน พ.ศ. 2565
สถานี | เชื่อมต่อกับ | ที่ตั้ง | |||
---|---|---|---|---|---|
รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก | |||||
HE01 | บางซื่อ | รถไฟความเร็วสูง สายเหนือ (พิษณุโลก) รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) รถไฟความเร็วสูง สายใต้ (หัวหิน) | เขตบางซื่อ | กรุงเทพมหานคร | |
HE02 | พญาไท | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท | เขตราชเทวี | ||
HE03 | มักกะสัน | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | |||
HE04 | ลาดกระบัง หรือ สุวรรณภูมิ | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | อำเภอบางพลี | สมุทรปราการ | |
HE05 | ฉะเชิงเทรา | ■ ทางรถไฟสายตะวันออก ■ ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก | อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา | ฉะเชิงเทรา | |
HE06 | ชลบุรี* | อำเภอเมืองชลบุรี | ชลบุรี | ||
HE07 | ศรีราชา* | อำเภอศรีราชา | |||
HE08 | พัทยา* | เมืองพัทยา | |||
HE09 | ระยอง* | อำเภอเมืองระยอง | ระยอง | ||
หมายเหตุ - *สถานีใหม่ |
ช่วง แก่งคอย-มาบตาพุด[แก้]
- ระยะทาง 246.5 กม.
- มูลค่าการลงทุนรวม วงเงิน 238,829 ล้านบาท
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ - หนองคาย)[แก้]
- ระหว่าง: สถานีกลางบางซื่อ → สถานีรถไฟหนองคาย
- ระยะทาง: 873 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 825,274 ล้านบาท
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
- หมายเหตุ : ปรับแบบลดรถไฟขนาดรางมาตฐาน 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง โครงสร้างทางสามารถยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ซึ่งยังไม่มีแผนงาน
ช่วง กรุงเทพ - นครราชสีมา[แก้]
- ระยะทาง: 256 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท
- เปิดใช้งาน: พ.ศ. 2565
ช่วง นครราชสีมา - หนองคาย[แก้]
- ระยะทาง: 617 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
สายใต้ (กรุงเทพ - ปาดังเบซาร์)[แก้]
- ระหว่าง: สถานีกลางบางซื่อ — สถานีรถไฟปาดังเบซาร์
- ระยะทาง: 970 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 124,327 ล้านบาท [6]
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
ช่วง กรุงเทพ - หัวหิน[แก้]
- ระยะทาง: 205 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: ประมาณ 90,000 ล้านบาท
- เปิดใช้งาน: ภายในปี พ.ศ. 2565
ช่วง หัวหิน - ปาดังเบซาร์[แก้]
- ระยะทาง: 765 กิโลเมตร
- มูลค่าการลงทุน: ยังไม่กำหนด (แผนลงทุนในอนาคต)
- เปิดใช้งาน: ยังไม่กำหนด
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นับ1ยื่นขออีไอเอไฮสปีดเทรนกทม.-พิษณุโลก ประชาชาติธุรกิจ. 27 กันยายน 2556.
- ↑ เดินหน้าไฮสปีดเทรน เดลินิวส์. 30 พฤษภาคม 2557.
- ↑ 3.03.1 การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง พ.ศ. 2539 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ↑ ไทยเหวอต้องถอย! สร้างรถไฟทางคู่ชะงัก จีนให้กู้รีดดอกเบี้ยสูง แถมขอสร้าง-เดินรถเองอีก มติชน. 6 กุมภาพันธ์ 2558
- ↑ "ซีพี" สนใจสร้างไฮสปีดเทรน ควงจีน-ฮ่องกงโชว์ความพร้อม มติชน. 24 เมษายน. 2558
- ↑ 6.06.1 บัญชีท้ายพรบ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของประเทศ พ.ศ. ... 15 มีนาคม พ.ศ. 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น